การนำเสนอพันธ์ุไม้จากสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง
7-10210-010-080
7 คือ รหัสกิจกรรมสร้างจิตสำนึก
10210 คือ รหัสไปรษณีย์ประจำท้องถิ่นของโรงเรียน
010 คือ รหัสสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์ของโรงเรียนแต่ละพื้นที่ โดยแบ่งตามรหัสไปรษณีย์
080 คือ รหัสหมายเลขการขึ้นทะเบียนพรรณไม้โรงเรียน ลำดับที่ 80 เอื้องหมายนา
อ้างอิงข้อมูลจาก ทะเบียนพรรณไม้โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง ปี 2554
เอื้องหมายนา
ชื่อสามัญ Crape ginger , Malay ginger , Spiral flag ,Wild ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cheilocostus speciosus (J.Koening) CD.Specht
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Costus speciosus (J.Koening) Sm.)
วงศ์ COSTACEAE
ชื่ออื่นๆ เอื้อง(อุบลราชธานี) , เอื้องช้าง(นครศรีธรรมราช) , เอื้องต้น(ยะลา) , เอื้องเพ็ดม้า(ภาคกลาง) , เอื้องใหญ่ บันไดสวรรค์(ภาคใต้) , ซูแลโบ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) , กู่เก้ง(ม้ง) , ชิ่งก๋วน(เมี่ยน) , ลำพิย้อก(ลั้วะ) , ดื้อเหม้(ยึ) (ปะหล่อง) , จุยเจียวฮวย(จีน)
ถิ่นกำเนิด อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงนิวกินี
แหล่งพันธุ์ พบตามบริเวณที่มีความชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ น้ำตก ชายน้ำริมทางน้ำ ริมหนอง บึง ป่าดิบชื้น
ประเภทของพืช พืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน
ลักษณะและสรรพคุณ
ลำต้น
มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำและเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้
(สรรพคุณ)
- ต้านโรคมะเร็ง เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โดยคนเมืองนำลำต้นมาต้มกินเป็นยา
- แก้หูน้ำหนวก ด้วยการนำลำต้นมาย่างไฟคั้นเอาน้ำ ใช้หยอดหู
- แก้นิ่ว ด้วยการนำลำต้นมาตัดให้มีความยาวหนึ่งวา เอาไปย่างไฟคั้นเอาน้ำดื่ม
- รักษาอาการผิวหนังเป็นผื่น แก้อาการคันตามผิวหนัง แก้อาการคันพิษจากหมามุ่ย โดยชาวไทใหญ่นำลำต้นมาตัดประมาณ 1 นิ้ว พกใส่กระป๋องป้องกันไม่ให้ขนหมามุ่ยติด
ใบ
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก โคนใบมนเรียวเข้าหากัน กาบใบอวบเป็นสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดงโอบรอบลำต้น ใบกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-40 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา หลังใบเรียบเป็นมัน ส่วนท้องคล้ายกำมะหยี่
(สรรพคุณ)
- รักษาโรคหูเป็นหนอง โดยชาวไทใหญ่นำใบมารมไฟ บีบเอาน้ำมาหยอดหู
- รักษาริดสีดวงจมูก โดยหมอยาบางพื้นที่นำใบเอื้องหมายนากับใบเปล้าใหญ่ มาซอยตากแห้งอย่างละเท่ากันแล้วมวนสูบเป็นบุหรี่
- รักษาโรคนิ่ว โดยชาวลั้วะนำใบใช้ร่วมกับใบมะละกอผู้ และพืชอื่นๆ
ดอก
(ลักษณะ)
ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกจะออกที่ปลายของลำต้น ลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร กาบรองดอกเป็นรูปไข่ปลายแหลม ปลายแข็งคล้ายหนาม สีเขียวปนแดง ยาวประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตร ในแต่ละกาบรองรับดอกย่อย 1 ดอก ดอกจะทยอยบายครั้งละ 1-2 ดอก กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดๆ และเป็นสัน 3 สัน ปลายแยกเป็น 3 กลีบ แยกออกเป็น 2 ปาก ซึ่งออกดอกในเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม หรือเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน
(สรรพคุณ)
- เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ตัวเหลือง แก้อาการอ่อนเพลียไม่มีแรง
ผล
(ลักษณะ)
เป็นรูปทรงกลมหรือรูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม ผลมีขนาดยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ผลเมื่อแห้งแล้วจะแตก มีเนื้อแข็ง สุก สีแดงสด ปลายยอดมีกลีบเลี้ยง 1 กลีบ หรืออยู่เป็นกระจุกแหลม 3 แฉก กาบหุ้มเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดสีดำเป็นมัน
เหง้าและราก
เหง้า คือ ลำต้นที่อยู๋ใต้ดิน
(สรรพคุณของเหง้า)
- เป็นยาถ่าย ยาฆ่าพยาธิ ยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ช่วยอาการตกขาวของสตรี ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
- รักษาโรคความดันโลหิตต่ำ แก้อาการหน้าซีด เป็นยาสมานแผลภายใน เป็นยาช่วยบำรุงมดลูก โดยชาวม้งนำมาต้มกับน้ำ ดื่มเป็นยา
- รักษาโรคท้องมาน ด้วยการนำเหง้ามาตำพอกบริเวณสะดือ
- แก้แผลหนอง แก้อักเสบ แก้บวม ด้วยการนำเหง้ามาต้มเอาน้ำไปล้างหรือพอกบริเวณที่มีอาการ
(สรรพคุณของราก)
- เป็นยาแก้หวัด ช่วยแก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยในการย่อยอาหาร เป็นยาขับพยาธิ ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ รักษาพิษงูกัด แก้โรคผิวหนัง
- บำรุงกำลัง โดยชาวไทใหญ่นำรากมาดองกับเหล้า
ประโยชน์ของเอื้องหมายนา
1. เหง้าหรือหัวมีแป้งถึง 60 % จึงนำมาใช้เป็นอาหารกินได้และมีเส้นใยมาก ช่วยขับถ่าย นิยมในประเทศ เช่น มาเลเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์ ใช้หน่ออ่อนเป็นผักหรือใส่ทำแกงกิน เช่นแกงเลียง แกงส้ม เป็นต้น
2.ใช้ในการเกษตร กำจัดหอยเชอรี่และยังเป็นอาหารของสัตว์จำพวก โค กระบือ
3. นำมาประกอบพิธีกรรมสู่ขวัญควาย ชาวไทลื้อนำทั้งต้นมาประกอบพิธีกรรมก่อนการทำนา
4.เป็นไม้ปลูกประดับ นิยมนำมาตัดไว้ประดับแจกัน
วิธีการขยายพันธุ์
- การเพาะเมล็ด โดยเอาเมล็ดจากผลของต้นเอื้องหมายนามาเพาะ
- การแยกเหง้ามาปลูก โดยเลือกเหง้าที่อุดมสมบูรณ์ ดินที่ใช้เป็นดินร่วน นำปุ๋ยมาผสมกับดินร่วน คลุกเคล้าและตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อกำจัดวัชพืช เมื่อดินเรียบร้อยให้ขุดหลุมให้ลึกพอประมาณ เพราะบริเวณรากมีเหง้าอยู่มากจากนั้นนำเหง้ามาปลูกในกระถาง เมื่อเริ่มแตกหน่อเเล้วจึงย้ายลงดิน (ควรมั่นรดน้ำให้ชุ่ม)
- การตอนกิ่ง
คลิกเพื่อรับชมวิธีการขยายพันธุ์
ข้อควรระวัง
- สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้สมุนไพรนี้ เพราะอาจทำให้แท้งได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการฝังตัวของตัวอ่อนที่ผนังลูก และการใช้สมุนไพรนี้ยังไปรบกวนรอบประจำเดือนด้วย
- เหง้าสดมีพิษมาก หากใช้ในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงอย่างรุนแรง ดังนั้นต้องทำให้สุกก่อนนำมาใช้หรือรับประทาน
***การรักษาพิษ ให้กินน้ำข้าวที่เย็นครั้งละ 1 ถ้วย ทุกๆ 15 นาที จนกว่าอาการท้องร่วงจะหายไป
ยังคงมีอยู่ไหม?
ปัจจุบันนี้ยังคงมีอยู่ อยู่ในเขตสวนวรรณคดี โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง แต่เหลือเพียงไม่กี่ต้น
อ้างอิง
ที่มาข้อมูล1 = ข้อมูลเกี่ยวกับชื่ออื่นๆของเอื้องหมายนา
ที่มาข้อมูล2 = ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของลำต้น ใบ ผลและข้อควรระวังของการใช้เอื้องหมายนา
ที่มาข้อมูล3 = ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของเหง้าที่บอกว่าสามารถทานได้เนื่องจากมีแป้ง
ที่มาข้อมูล4 = ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีปลูกต้นเอื้องหมายนา
ที่มาข้อมูล5 = ข้อมูลเกี่ยวกับสรรพคุณต่างๆและประโยชน์ของเอื้องหมายนา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น